ฐานข้อมูล

 ระบบฐานข้อมูล (database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย  แฟ้มข้อมูล แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลมีข้อดีกว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูล
http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/103_116/01.html



ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา  หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

ความหมายฐานข้อมูล
ข้อมูล(data) ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
ภายในองค์กร หน่วยงาน ตลอดจนข้อมูลทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยการเก็บรวบรวมไว้ในฐานข้อมูล
แล้วนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล(Processing) เช่น การเรียงลำดับ การคำนวณ การจัดกลุ่ม
สรุปผลสร้างเป็นรายงาน หรือจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการนำเสนอขององค์กร เพื่อให้ได้
ข้อมูลที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้จนสามารถนำไปใช้งานได้ จึงเรียกข้อมูลหลังจากที่ผ่าน
กระบวนการประมวลข้างต้นแล้วนี้ว่าเป็นสารสนเทศ


ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน
ระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล

 ฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแฟ้มข้อมูลมารวมไว้ที่เดียวกัน รวมทั้งต้องมีส่วนของพจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) เก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูล และเนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บนั้นต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทำให้สามารถสืบค้น (retrieval) แก้ไข (modified) ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ข้อมูล (update) และจัดเรียง (sort) ได้สะดวกขึ้นโดยในการกระทำการดังที่กล่าวมาแล้ว ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับจัดการฐานข้อมูล



สรุปได้ว่าฐานข้อมูลหมายถึงเป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลที่นำมารวมไว้ที่เดียวกันหรือแยกกันก็ได้แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วยและมีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ สามารถเพิ่ม เเก้ไข ลบ และเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา




ผลงานของหนู

งานแรกที่ทำเป็นการสร้างชั้นอยากบอกว่ายากมากๆ เลยได้ออกมาแค่นี้ แต่ก็สวยดีนะ 555555

Bookshelf




งานที่สองเป็นการสร้างโดยใช้ Curve tool สร้างโต๊ะ เก้าอี้ ขวด แก้ว จาน และชาม เพิ่งเริ่มหัดใส่สีและรูปยังไม่ค่อยสวยเท่าไหร่
Curve  tool


งานที่สามเป็นการสร้าง x – Wing ใช้เวลานานมากสำหรับงานนี้และเป็นงานที่ภูมิใจที่สุดค่ะ

X - Wing


งานที่สี่คือการสร้างพื้นภูเขาและทำให้ x- Wing บินไปตามภูเขาค่ะ

X -Wing + mountain

งานที่ห้าจุดหนึ่ง และ ห้าจุดสองเป็นการตั้งกล้องสองตัวและเรนเดอร์งานค่ะ  

ห้าจุดหนึ่ง
ห้าจุดสอง


งานที่หกเป็นการสร้างห้องทำงานและใส่ไฟใช้เวลาทำไม่นานเท่าไหร่จึงไม่สวยมากนัก แต่ก็เหมือนจริงอยู่นะค่ะ

Room

ส่วนงานสุดท้ายเป็นการเรนเดอร์ห้องอาจจะเร็วไปนิดนะค่ะเพราะสเปกเครื่องของเราไม่พอสำหรับทำหลายๆเฟรม


ขั้นตอนการสร้าง Animation



















ขั้นตอนการสร้าง Animation





ภาพตัวอย่าง เป็นการทำภาพเคลื่อนไหว หรือ Animation อย่างง่าย ซึ่งกำหนดให้รถยนต์วิ่งจากจุด A ไปยังจุด B
โดยเราจะสร้างจากโปรแกรม Flash มีขั้นตอนดังนี้  



1. เปิดโปรแกรม Flash เลือกเมนู File > Import > Import to Stage แล้วเลือกภาพที่ต้องการทำ Animation โดยจัดตำแหน่งภาพให้อยู่ที่จุดเริ่มต้น (จุด A)

2. คลิกเมาส์ขวาที่ Timeline ตรงเฟรมที่ 30 แล้วเลือก Insert Keyframe


3. คลิกที่ Layer 1 เพื่อเลือกทั้งหมด (สังเกต Timeline จะถูกไฮไลน์เป็นสีดำ)




4. คลิกขวาที่ Timeline อีกครั้ง แล้วเลือก Create Motion Tween


5. คลิกเลือกเฟรมที่ 30 เพื่อกำหนดจุดสิ้นสุด




6. ใช้เมาส์ลากรถยนต์ให้ไปอยู่ที่จุดสิ้นสุด (จุด B)


7. ทดสอบการทำงานโดยการกด Ctrl+Enter

Type of Animation

Computer Animation ปัจจุบันมีซอฟท์ที่สามารถช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น เช่น โปรแกรม Maya, Macromedia และ 3D Studio Max เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาการผลิตและประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก เช่น ภาพยนตร์เรื่องToy Story ใช้แอนิเมเตอร์เพียง 110 คนเท่านั้น







Type of Animation

 Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation เป็นการถ่ายภาพแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆขยับ อาจจะเป็นของเล่นหรืออาจจะสร้างตัวละครจาก Plasticine วัสดุที่คล้ายกับดินน้ำมันโดยโมเดลที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้ได้อีกหลายครั้งและยังสามารถผลิตได้หลายตัว  ทำให้สามารถถ่ายทำได้หลายฉากในเวลาเดียวกัน  แต่การทำ Stop motion นั้นต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก เช่น การผลิตภาพยนตร์เรื่อง James and the Giant Peach สามารถผลิตได้ 10 วินาทีต่อวันเท่านั้น วิธีนี้เป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทนมาก







Type of Animation
 Drawn Animation คือแอนิเมชั่นที่เกิดจากการวาดภาพหลายๆพันภาพ  แต่การฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องอาจใช้เวลาไม่กี่นาที 
ข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ  สวยงาม  น่าดูชม  แต่ข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก  ต้องใช้แอนิเมเตอร์จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย









            


The meaning of Animation
 แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช 




 แอนิเมชั่น (Animation) หมายถึง "การสร้างภาพเคลื่อนไหว" ด้วยการนำภาพนิ่งมาเรียงลำดับกัน  และแสดงผลอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ดวงตาเห็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะภาพติดตา (Persistence of Vision) เมื่อตามนุษย์มองเห็นภาพที่ฉ่าย อย่างต่อเนื่อง เรตินาระรักษาภาพนี้ไว้ในระยะสั้นๆ ประมาณ 1/3 วินาที หากมีภาพอื่นแทรกเข้ามาในระยะเวลาดังกล่าว  
สมองของมนุษย์จะเชื่อมโยงภาพทั้งสองเข้าด้วยกันทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีความต่อเนื่องกัน  แม้ว่าแอนิเมชั่นจะใช้หลักการเดียวกับวิดิโอ แต่แอนิเมชั่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้มากมาย  เช่นงานภาพยนตร์  งานโทรทัศน์  งานพัฒนาเกมส์  งานสถาปัตย์





Animation is the rapid display of a sequence of images to create an illusion of movement. The most common method of presenting animation is as a motion picture or video program, although there are other methods. This type of presentation is usually accomplished with a camera and a projector or a computer viewing screen which can rapidly cycle through images in a sequence. Animation can be made with either hand rendered art, computer generated imagery, or three-dimensional objects, e.g., puppets or clay figures, or a combination of techniques. The position of each object in any particular image relates to the position of that object in the previous and following images so that the objects each appear to fluidly move independently of one another. The viewing device displays these images in rapid succession, usually 24, 25, or 30 frames per second.